องค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา : www.phontongsida.go.th

 
 
สาส์นจาก อบต.และคำแถลงนโยบาย

สารจาก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง

สวัสดีครับพ่อแม่พี่น้องประชาชนตำบลโพนทองทุกท่าน กระผมนายวรากร เขียนนอก ตำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง

กระผมตระหนักถึงภาระหน้าที่ในการเป็นผู้นำองค์กรสู่ความเจริญก้าวหน้าให้มีการพัฒนาในด้านต่างๆมาโดยลำดับ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการบริหารจัดการ โดยมีเป้าหมายเพื่อการบำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ประชาชน ในท้องถิ่นเป็นหลักการพัฒนาในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง อย่างต่อเนื่อง เป็นสำคัญที่จะทำให้ตำบลโพนทอง มีความพร้อมในทุกๆด้าน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมตัดสินใจในการดำเนินโครงการต่างๆของอบต. เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและโปร่งใส เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและพร้อมรับผิดชอบต่อประชาชน โอกาสนี้ กระผมด้วยผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง ขอขอบพระคุณพ่อแม่พี่น้องที่ให้การสนับสนุน และร่วมมือร่วมใจในการผลักดันภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง จนประสบความสำเร็จด้วยดี เสมอมา ขอบคุณครับ

นายวรากร เขียนนอก

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง



คำแถลงนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง

นโยบายนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง นโยบายนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพนทอง มีทั้งหมด 11 ด้าน ดังนี้ 1. นโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค 1.1 บริหารงานให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ตามวิสัยทัศน์ประเทศไทยที่ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” 1.2 บริหารงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 1.3 บริหารงานให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด 1.4 บริหารงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดนครราชสีมา 1.5 จัดทำแผนพัฒนาตำบลให้สอดคล้องสัมพันธ์กับไทยแลนด์ 4.0 2. นโยบายด้านการสานต่อแนวทางพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 2.1 ประสานและบริหารจัดการบริหารน้ำเพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาอุทกภัยอย่างเป็นระบบ 2.2 พัฒนา ขุดลอก คูคลอง และจัดการสร้างแหล่งน้ำ สงวนและกักเก็บน้ำ เพื่อการเกษตร เพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมทั้งวางโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภัยแล้ง 3. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน 3.1 ดำเนินการก่อสร้าง ปรับปรุงและซ่อมแซมถนนเพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมขนส่งและการสัญจร 3.2 ดำเนินการจัดสร้างระบบประปา และส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการระบบประปาร่วมกับชุมชน เพื่อให้มีระบบประปาที่มีประสิทธิภาพ ถูกหลักอนามัย 3.3 ดำเนินการจัดสร้างระบบระบายน้ำในชุมชน และระบบจัดการน้ำเสียจากครัวเรือนอย่างมีประสิทธิภาพ 3.4 จัดให้มีไฟฟ้าสาธารณะซึ่งส่องสว่างตามถนนชุมชน ที่สาธารณะและลานกีฬาอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 3.5 พัฒนาพื้นที่สาธารณะ บึงสาธารณะให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ออกกำลังกาย และพักผ่อนหย่อนใจอย่างเหมาะสม 3.6 ประสานขอรับการสนับสนุนจากส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นเพื่อสนับสนุนเครื่องมือ เครื่องจักรกล ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานที่มีความชำนาญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3.7 ประสานในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในด้านสาธารณูปโภค และส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจในการใช้และรักษาสาธารณูปโภคอย่างคุ้มค่า 3.8 ดำเนินการและประสานให้มีระบบไฟฟ้าขยายเขตเพื่อครัวเรือนและเพื่อการเกษตร 4. นโยบายด้านการส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจ 4.1 สนับสนุนการทำเกษตรทางเลือกตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4.2 ส่งเสริมประชาชนในท้องถิ่นให้มีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการบริโภค เพื่อจำหน่าย และเพื่อการอนุรักษ์ 4.3 ส่งเสริม สนับสนุนการถนอมอาหารและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร และเพิ่มช่องทางการตลาด 4.4 สนับสนุนส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน 4.5 จัดพื้นที่เพื่อจำหน่ายสินค้าและประสานร่วมมือกับเอกชนในการจัดพื้นที่เพื่อจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ในชุมชน 4.6 ส่งเสริมให้มีการ อบรมให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพที่หลากหลายและสร้างอาชีพหลัก อาชีพเสริม 5. นโยบายด้านการศึกษา 5.1 พัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีมาตรฐาน 5.2 พัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาให้มีทักษะ ศักยภาพ และมีคุณภาพตามมาตรฐาน 5.3 สนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือ สื่อการเรียน การสอน พร้อมทั้งส่งเสริมความรู้ให้กับประชาชนในพื้นที่ 5.4 สนับสนุนกิจกรรมต่างๆเพื่อเพิ่มทักษะชีวิตให้กับนักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไปในเขตพื้นที่ตำบลโพนทอง 5.5 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชน 6. นโยบายด้านการพัฒนาสังคม 6.1 ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น บุคลากร ผู้นำชุมชน และผู้นำกลุ่มองค์กรให้เข้มแข็ง 6.2 ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน 6.3 ส่งเสริมพัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของแม่และเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน 6.4 ส่งเสริมคุณภาพและศักยภาพตามความสามารถของแรงงานในท้องถิ่น 6.5 ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน 6.6 ดำเนินโครงการเพื่อบริการประชาชน และรับทราบปัญหา อุปสรรค และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพิ่มช่องทางการแจ้งปัญหา และความต้องการของประชาชน และช่องทางการร้องทุกข์ต่างๆ 7. นโยบายด้านการท่องเที่ยว ศาสนา-วัฒนธรรมประเพณีและกีฬา 7.1 พัฒนาฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม 7.2 พัฒนาพื้นที่สาธารณะ บึงสาธารณะให้เหมาะสมกับการส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว 7.3 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมกีฬา สันทนาการ เพื่อการพักผ่อน ออกกำลังกาย และจัดให้มีเครื่องออกกำลังกายในพื้นที่สาธารณะ 8. นโยบายด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี 8.1 ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงาน ให้รองรับการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ 8.2 นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานภายในองค์กร 8.3 สนับสนุนบุคลากรในสังกัดให้ได้รับการศึกษา อบรม เพิ่มพูนความรู้เพื่อยกระดับ ประสิทธิภาพการทำงานให้เกิดประสิทธิผลในการบริการประชาชน 8.4 บูรณาการการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นร่วมกันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น หน่วยงานราชการและเอกชน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาท้องถิ่น 8.5 เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น 8.6 เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ 9. นโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 9.1 ส่งเสริมให้มีการแจ้งเตือนภัยธรรมชาติและภัยพิบัติต่างๆ แก่ประชาชนอย่างทันเหตุการณ์ 9.2 ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.)ให้มีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือและป้องกันภัย รักษาความปลอดภัย ให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 9.3 ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานมูลนิธิการกุศล และองค์กรที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย 9.4 ส่งเสริมและสนับสนุนการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดในเขตชุมชน และสถานที่สำคัญ เพื่อสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 10. นโยบายด้านสาธารณสุข 10.1 ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 10.2 ส่งเสริมและสนับสนุนโดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมและทั่วถึง 10.3 ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนให้มีสุขภาพแข็งแรง 10.4 ส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันการระบาดของโรคทั้งในคน สัตว์ และพืช 11. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 11.1 พัฒนาฟื้นฟู อนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ 11.2 รณรงค์สร้างจิตสำนึกเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน และประสานความร่วมมือกับชุมชน ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้น่าอยู่ น่าอาศัย 11.3 ส่งเสริมการคัดแยกขยะ และการกำจัดขยะแบบบูรณาการ 11.4 ส่งเสริม สนับสนุนการใช้อินทรีย์ชีวภาพ และลดการใช้สารเคมี เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม